วันจันทร์ที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

ครั้งที่ 10

วัน พุธ ที่ 19 มกราคม 2554

กิจกรรมของภาษาที่อาจารย์สอนวันนี้

1.คำดล้องจ้อง โดยพูดคำของตนเองแล้วให้เพื่อนพูดต่อเป็นคำที่คล้องจองกัน

2.นึกถึงอะไรแล้วมีความสุข คือ สิ่งที่นึกถึงแล้วทำให้เรามีความสุข

3.โครงสร้างครอบครัว วาดรูปสมาชิกในครอบครัวของเรา แล้วเขียนชื่อ

4.เขียนแล้วเล่าเรื่องต่อกัน ให้แต่ล่ะคนวาดรูป คนละ 1 รูป แล้วมายืนเรียงกันเป็นแถวๆ จากนั้นให้คนที่1เล่าเรื่องรูปของตัวเองต่อกันไปเรื่อยๆ จนจบ

5.เกมส์กระชิบ ให้เพื่อนดูประโยคแล้วมากระชิบบอกเพื่อนคนต่อไป และถามเพื่อนคนสุดท้ายว่าประโยคนั้นคืออะไร

6.วาดไปเล่าไป โดยอาจารย์เล่าเรื่องให้ฟังก่อน พร้อมกับวาดรูปไปด้วย เมื่อเล่าจบรูปที่วาดเสร็จก็กลายเป็นเต่าเต่าทอง

เมื่อทำกิจกรรมเสร็จ ให้นักศึกษาเขียน สะท้อนว่าเด็กได้อะไรจากสิ่งที่อาจารย์สอนทั้งหมด 6 อย่าง



พร้อมสั่งงาน โดยทำจากปฎิทิน โดยใช้ สระ-อะ


ครั้งที่ 9

วัน พุธ ที่ 12 มกราคม 2554

อาจารย์ได้ให้นักศึกษา กลุ่มล่ะ 2-3 คน เพื่อให้ออกไปทำท่าทางตามปริศนาคำทายสำนวนไทย
และให้เพื่อนๆทายว่า เป็นสำนวนไทยสำนวนอะไร

หลังจากนั้นอาจารย์ได้ตรวจงานที่สั่งและบอก ข้อดี ข้อเสีย ของแต่ล่ะคนเพื่อนำไปปรับปรุงแก้ไขในการทำงานอื่นต่อไป

ครั้งที่ 8



วัน พุธ ที่ 9 มกราคม 2554

อาจารย์ให้งานมา 2 ชิ้น เพื่อนำงานที่ไปทำมาและส่งอาทิตย์หลังจากนั้นอาจารย์ได้ปล่อยนักศึกษาเนื่องจากอาจารย์ติดภาระกิจจึงได้ปล่อยนักศึกษาออกก่อนเวลา เพื่อให้ไปทำงานที่สั่งและให้ส่งตามกำหนด




งานที่อาจารย์สั่ง คือ สมุดเล่มเล็ก เป็นสมุดที่ทำขึ้นเองโดยใช้กระดาษ A4 พับให้เป็นหน้าๆ ทำเป็นคำปริศนาคำทาย คำสั้น สิ่งที่น่ารู้ เป็นต้น




ครั้งที่ 7

วัน พุธ ที่ 15 ธันวาคม 2553

อาจารย์ได้พูดถึงเรื่อง วรรรกรรม คือ เรื่องของนิทาน และสอนในเรื่องการจัดประสบการณ์ภาษาทางธรรมชาติของแนวคิดแต่ล่ะคน เช่น โค่มินิอุส กู๊ดแมน เมอร์รีดิธ จูดิท นิวแมน จอนห์น ดิวอี้
โดยอาจารย์อธิบายและให้นักศึกษาร่วมแสดงงความคิดเห็นจากการที่อาจารย์ได้อธิบายเพิ่มเติม
ซึ่งแต่ล่ะคนก็ได้ร่วมแสดงความคิดเห็นกัน
ก่อนอาจารย์จะปล่อย อาจารย์ได้สั่งงานบิกบุ๊คปริศนาคำทาย โดยอาจารย์แจกกระดาษให้ทำทำกันแต่ล่ะกลุ่ม โดยใช้ความคิดออกแบบกันเองภายในกลุ่ม ส่งภายในชั่วโมงต่อไป

ครั้งที่ 6

วัน พุธ ที่ 8 ธันวาคม 2553

วันนี้เรียนเรื่องเกี่ยวกับขั้นตอนพัฒนาการทางภาษาของเด็กปฐมวัย

ขั้นตอนของพัฒนาการทางภาษาของเด็กปฐมวัย มี 7 ขั้นตอนดังนี้

1.ระยะเปะปะ แรกเกิด-6 เดือน จะเปล่งเสียงออกมาไม่มีความหมายเพพื่อต้องการให้เด้กรับรู้

2.ระยะแยกแยะ อายุ 6 เดือน-1 ปี เด้กเริ่มแยกแยะเสียงที่เขาได้ยิน เด็กจะแสดงออกถึงการฟัง จะหยุดฟังหรือมอง ไปหาคนที่พูดกับตัวเอง

3.ระยะเลียนแบบ อายุ 1-2 ปี เสียงที่อยู่ในสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะเสียงคนใกล้ชิด เด็กจะเริ่มสนใจและเรียนแบบเสียงที่ได้ยิน

4.ระยะขยาย อายุ 2-4 ปี เด็กจะเริ่มเปล่งเสียงออกมาเป็นคำๆระยะแรกจะเป็นการพูดออกชื่อคนที่อยู่รอบข้าง สิ่งต่างๆที่อยู่ใกล้ตัว

5.ระยะโครงสร้าง อายุ 4-5 ปี การรับรู้และการสังเกตของเด็กวัยนี้ดีขึ้นมาก ทำให้เด็กได้สังเกตการใช่ภาษา
ของบุคคลที่อยู่รอบข้าง เช่น การเล่านิทานให้เด็กฟัง

6.ระยะตอบสนอง อายุ 5-6 ปี การพัฒนาการทางภาษาของเด็กปฐมเริ่มสูง เด็กจะเข้าโรงเรียน เด็กได้พัฒนาคำศัพท์มากขึ้น

7.ระยะสร้างสรรค์ อายุ 6 ปีขึ้นไป จดจำสัญลักษณ์ได้มากขึ้น ใช่ถ้อยคำที่เป็นสำนวนเด็กจะได้พัฒนาวิเคราะห์และสร้างสรรค์ทักษะทางภาษาได้มากขึ้น

ครั้งที่ 5

วัน พุธ ที่ 1 ธันวาคม 2553

วันนี้เป็นวันที่มีการเปลี่ยนแปลงในวิชานี้ เพราะว่า ตอนแรกเรียนวันศุกร์ และอาจารย์ได้ย้ายมาเรียนวันพุธ เนื่องจากวันศุกร์เป็นวันสุดสัปดาห์และเลิกเกือบ 6โมงเย็น อาจารย์เลยทำการตกลงกับนักศึกษา ว่าน่าจะย้ายมาเรียนวันพุธ ซึ่งก็มีความคิดเห็นเหมือนกันว่าย้ายดีกว่า

วันนี้เรียนเรื่อง การจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
การเรียนรู้ของเด็กเกิดขึ้นจาก พี่อ แม่ หรือคนรอบข้างและการมีโอกาสใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 การยกตัวอย่างการเขียนของเด็กที่ไม่เป็นทางการ โดยใช้คอมพิวเตอร์ เขียน รูปภาพ การใช้ภาษาในลักษณะต่างๆ ภาษาเกิดขึ้นโดยได้ทุกสถานการณ์ ภาที่มนุษย์ชอบใช้กันคือ คำหยาบ มนุษย์ใช้ภาษาในการสื่อสารระหว่างกัน วิธีที่ใช้ที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด คือ การใช้ภาษา พูด เขียน จะช่วยให้เด็กเข้าใจ แสดงออกได้ถึงการรับรู้ และการแสดงออกถึงความรู้สึกในการรับข่าวสารต่างๆ

จุดมุ่งหมายในการสอนภาษา คือ

1.การใช้ภาษาเน้นที่การสื่อสาร

2.การฟังและประสบการณ์การอ่าน เน้นเข้าใจความหมาย

3.การพูดและประสบการณ์เขียน