วันอังคารที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2554

ครั้งที่ 14

วัน พุธ ที่ 16 กุมภาพันธ์ 2554

วันนี้อาจารย์ให้ฟังเพลงแล้วแสดงความรู้สึก ต่อเพลงที่ฟัง และอาจารย์ก็แจกกระดาษให้นักศึกษาได้แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเพลงที่อาจารย์เปิด โดยให้เหตุผล คือ

1.ในเพลงต้องการบอกอะไร

2.ฟังแล้วรู้สึกอย่างไร

เมือ่ทำเสร็จแล้วอาจารย์ก็ให้รวบรวมส่ง และให้ทำแบบตอบคำถามต่อไปนี้มีคำถามดังนี้

1.การจัดสภาพแวดล้อมในห้องเรียนที่เสริมทักษะด้านภาษามีลักษณะอย่างไร

และอาจารย์ก็ได้สรุปเนื้อหาต่างๆ เกี่ยวกับภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย ปิดคอร์ด

ครั้งที่ 13

วัน พุธ ที่ 9 กุมภาพันธ์ 2554

วันนี้ไม่มีการเรียนการสอน

ครั้งที่ 12

วัน พุธ ที่ 2กุมภาพันธ์ 2554

วันนี้อาจารย์ให้นักศึกษา power point เกี่ยวกับเรื่องการจัดประสบการณ์ธรรมชาติพร้อมคำอธิบายให้กับนักศึกษาฟังในแต่ล่ะเนื้อหาซึ้งมีเนื้อหาดังนี้

ภาษาได้จากการฝึกคิดและถ่ายทอดความคิดออกมาเป็นสัญลักษณ์ คือ ตัวอักษรอย่างธรรมชาติจากการฟังมาก ได้อ่านมาก จนสามารถถ่ายทอดเองได้ และฦกฝนความถูกต้อง สวยงามภายหลังส่วนการอ่านนั้นสามารถทำได้ตลอดเวลาด้วยการอ่านจากหนังสือ จากถนน จากสิ่งแวดล้อม จากป้ายโฆษณา จากถุงขนม

ความเชื่อมโยงภาษาพูดกับภาษาเขียน

ภาษาพูดหรือภาษาเขียนมีความเชื่อมโยงกันสัมพันธ์กันโดยทั่ว ความรู้เกี่ยวกับคำจะเพิ่มพูนมากขึ้นเมื่อเรา พูด เล่น สนทนาโต้ตอบ
จุดสำคัญการส่งเสริมและพัฒนาภาษาคือการที่ผู้ใหญ่อ่านหนังสือให้เด้กฟังในขณะที่ครูอ่านไปเด็กจะมองตามตัวหนังสือ และมักพยายามหาความหมายไปด้วยจากภาพและตัวหนังสือซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของพฤติกรรมการเรียนรู้หนังสือ

ครั้ง 11

วัน พุธ ที่ 26 มกราคม 2554

ในวันนี้อาจารย์ได้สอน ร้องเพลงของเด็ก
เพลง แปรงฟัน

เพลง ชื่อของฉัน

เพลง สวัสดี

เพลง แมงมุมลายตัวนั้น

เพลง บ้านของฉัน

เพลง อย่าทิ้ง

เพลง ตาและหู

เพลง กระต่ายขาว

เพลง HALLO

เพลง น่ารักจัง

หลังจากนั้นทำกิจกรรมวาดภาพแล้วต่อเติมคำ กิจกรรม บาน-หุบ การเล่านิทาน
และเรียนภาษาธรรมชาติ

วันจันทร์ที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

ครั้งที่ 10

วัน พุธ ที่ 19 มกราคม 2554

กิจกรรมของภาษาที่อาจารย์สอนวันนี้

1.คำดล้องจ้อง โดยพูดคำของตนเองแล้วให้เพื่อนพูดต่อเป็นคำที่คล้องจองกัน

2.นึกถึงอะไรแล้วมีความสุข คือ สิ่งที่นึกถึงแล้วทำให้เรามีความสุข

3.โครงสร้างครอบครัว วาดรูปสมาชิกในครอบครัวของเรา แล้วเขียนชื่อ

4.เขียนแล้วเล่าเรื่องต่อกัน ให้แต่ล่ะคนวาดรูป คนละ 1 รูป แล้วมายืนเรียงกันเป็นแถวๆ จากนั้นให้คนที่1เล่าเรื่องรูปของตัวเองต่อกันไปเรื่อยๆ จนจบ

5.เกมส์กระชิบ ให้เพื่อนดูประโยคแล้วมากระชิบบอกเพื่อนคนต่อไป และถามเพื่อนคนสุดท้ายว่าประโยคนั้นคืออะไร

6.วาดไปเล่าไป โดยอาจารย์เล่าเรื่องให้ฟังก่อน พร้อมกับวาดรูปไปด้วย เมื่อเล่าจบรูปที่วาดเสร็จก็กลายเป็นเต่าเต่าทอง

เมื่อทำกิจกรรมเสร็จ ให้นักศึกษาเขียน สะท้อนว่าเด็กได้อะไรจากสิ่งที่อาจารย์สอนทั้งหมด 6 อย่าง



พร้อมสั่งงาน โดยทำจากปฎิทิน โดยใช้ สระ-อะ


ครั้งที่ 9

วัน พุธ ที่ 12 มกราคม 2554

อาจารย์ได้ให้นักศึกษา กลุ่มล่ะ 2-3 คน เพื่อให้ออกไปทำท่าทางตามปริศนาคำทายสำนวนไทย
และให้เพื่อนๆทายว่า เป็นสำนวนไทยสำนวนอะไร

หลังจากนั้นอาจารย์ได้ตรวจงานที่สั่งและบอก ข้อดี ข้อเสีย ของแต่ล่ะคนเพื่อนำไปปรับปรุงแก้ไขในการทำงานอื่นต่อไป

ครั้งที่ 8



วัน พุธ ที่ 9 มกราคม 2554

อาจารย์ให้งานมา 2 ชิ้น เพื่อนำงานที่ไปทำมาและส่งอาทิตย์หลังจากนั้นอาจารย์ได้ปล่อยนักศึกษาเนื่องจากอาจารย์ติดภาระกิจจึงได้ปล่อยนักศึกษาออกก่อนเวลา เพื่อให้ไปทำงานที่สั่งและให้ส่งตามกำหนด




งานที่อาจารย์สั่ง คือ สมุดเล่มเล็ก เป็นสมุดที่ทำขึ้นเองโดยใช้กระดาษ A4 พับให้เป็นหน้าๆ ทำเป็นคำปริศนาคำทาย คำสั้น สิ่งที่น่ารู้ เป็นต้น




ครั้งที่ 7

วัน พุธ ที่ 15 ธันวาคม 2553

อาจารย์ได้พูดถึงเรื่อง วรรรกรรม คือ เรื่องของนิทาน และสอนในเรื่องการจัดประสบการณ์ภาษาทางธรรมชาติของแนวคิดแต่ล่ะคน เช่น โค่มินิอุส กู๊ดแมน เมอร์รีดิธ จูดิท นิวแมน จอนห์น ดิวอี้
โดยอาจารย์อธิบายและให้นักศึกษาร่วมแสดงงความคิดเห็นจากการที่อาจารย์ได้อธิบายเพิ่มเติม
ซึ่งแต่ล่ะคนก็ได้ร่วมแสดงความคิดเห็นกัน
ก่อนอาจารย์จะปล่อย อาจารย์ได้สั่งงานบิกบุ๊คปริศนาคำทาย โดยอาจารย์แจกกระดาษให้ทำทำกันแต่ล่ะกลุ่ม โดยใช้ความคิดออกแบบกันเองภายในกลุ่ม ส่งภายในชั่วโมงต่อไป

ครั้งที่ 6

วัน พุธ ที่ 8 ธันวาคม 2553

วันนี้เรียนเรื่องเกี่ยวกับขั้นตอนพัฒนาการทางภาษาของเด็กปฐมวัย

ขั้นตอนของพัฒนาการทางภาษาของเด็กปฐมวัย มี 7 ขั้นตอนดังนี้

1.ระยะเปะปะ แรกเกิด-6 เดือน จะเปล่งเสียงออกมาไม่มีความหมายเพพื่อต้องการให้เด้กรับรู้

2.ระยะแยกแยะ อายุ 6 เดือน-1 ปี เด้กเริ่มแยกแยะเสียงที่เขาได้ยิน เด็กจะแสดงออกถึงการฟัง จะหยุดฟังหรือมอง ไปหาคนที่พูดกับตัวเอง

3.ระยะเลียนแบบ อายุ 1-2 ปี เสียงที่อยู่ในสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะเสียงคนใกล้ชิด เด็กจะเริ่มสนใจและเรียนแบบเสียงที่ได้ยิน

4.ระยะขยาย อายุ 2-4 ปี เด็กจะเริ่มเปล่งเสียงออกมาเป็นคำๆระยะแรกจะเป็นการพูดออกชื่อคนที่อยู่รอบข้าง สิ่งต่างๆที่อยู่ใกล้ตัว

5.ระยะโครงสร้าง อายุ 4-5 ปี การรับรู้และการสังเกตของเด็กวัยนี้ดีขึ้นมาก ทำให้เด็กได้สังเกตการใช่ภาษา
ของบุคคลที่อยู่รอบข้าง เช่น การเล่านิทานให้เด็กฟัง

6.ระยะตอบสนอง อายุ 5-6 ปี การพัฒนาการทางภาษาของเด็กปฐมเริ่มสูง เด็กจะเข้าโรงเรียน เด็กได้พัฒนาคำศัพท์มากขึ้น

7.ระยะสร้างสรรค์ อายุ 6 ปีขึ้นไป จดจำสัญลักษณ์ได้มากขึ้น ใช่ถ้อยคำที่เป็นสำนวนเด็กจะได้พัฒนาวิเคราะห์และสร้างสรรค์ทักษะทางภาษาได้มากขึ้น

ครั้งที่ 5

วัน พุธ ที่ 1 ธันวาคม 2553

วันนี้เป็นวันที่มีการเปลี่ยนแปลงในวิชานี้ เพราะว่า ตอนแรกเรียนวันศุกร์ และอาจารย์ได้ย้ายมาเรียนวันพุธ เนื่องจากวันศุกร์เป็นวันสุดสัปดาห์และเลิกเกือบ 6โมงเย็น อาจารย์เลยทำการตกลงกับนักศึกษา ว่าน่าจะย้ายมาเรียนวันพุธ ซึ่งก็มีความคิดเห็นเหมือนกันว่าย้ายดีกว่า

วันนี้เรียนเรื่อง การจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
การเรียนรู้ของเด็กเกิดขึ้นจาก พี่อ แม่ หรือคนรอบข้างและการมีโอกาสใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 การยกตัวอย่างการเขียนของเด็กที่ไม่เป็นทางการ โดยใช้คอมพิวเตอร์ เขียน รูปภาพ การใช้ภาษาในลักษณะต่างๆ ภาษาเกิดขึ้นโดยได้ทุกสถานการณ์ ภาที่มนุษย์ชอบใช้กันคือ คำหยาบ มนุษย์ใช้ภาษาในการสื่อสารระหว่างกัน วิธีที่ใช้ที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด คือ การใช้ภาษา พูด เขียน จะช่วยให้เด็กเข้าใจ แสดงออกได้ถึงการรับรู้ และการแสดงออกถึงความรู้สึกในการรับข่าวสารต่างๆ

จุดมุ่งหมายในการสอนภาษา คือ

1.การใช้ภาษาเน้นที่การสื่อสาร

2.การฟังและประสบการณ์การอ่าน เน้นเข้าใจความหมาย

3.การพูดและประสบการณ์เขียน